บริการประชาชน
น้องบัง
18.54
น้องบัง
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องช่วยฮ่ะ ถามน้องบังมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ฮะ
18.54
ขนาดตัวอักษร
ภาษา
แหล่งท่องเที่ยว
ศูนย์เรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง

ILC๓ คือ การพลิกฟื้นผืนดิน จำนวน ๘ ไร่ พลิกฟื้นผืนดินที่ทุกคนรังเกียจ ผืนดินที่ไร้คุณค่า ให้ผืนดินที่มีคุณค่า สามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด สามารถเป็นสถานที่เรียนรู้เรื่องการบูรณาการการจัดการปัญหาต่างๆ ทั้งในส่วนของการจัดการปัญหาขยะและพลังงาน

- โดยกระบวนการดำเนินงานของ ILC๓ คือ เป็นการนำนโยบายของคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้แนวคิดเรื่องการจัดการขยะฐานศูนย์ ตั้งแต่ ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ILC๓ คือการจัดการขยะที่ปลายทาง เป็นที่ทิ้งขยะของคนในชุมชนมาตั้งแต่สมัยสุขาภิบาล จนถึงปัจจุบันร่วมประมาณ ๒๐ กว่าปี นอกจากนั้นจะนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลสงรัชกาลที่ ๙ มาปรับใช้ในพื้นที่ ๘ ไร่ และนำยุทธศาสตร์ของเทศบาลคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon City มาปรับใช้ใน ILC๓

-  โดยการส่งเสริมให้ ILC๓ เป็นเมืองแห่งต้นไม้ พื้นที่ ๘ ไร่ ๒ ไร่ เป็นบ่อทิ้งขยะ ที่ดินที่เหลือ ๖ ไร่ จะต้องมีการปรับภูมิทัศน์ให้น่าอยู่   ปัจจุบันนี้ ๗๐% ของพื้นที่ใน ILC๓ มีต้นไม้ยืนต้นทั้งต้นเล็กต้นใหญ่ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการดูดซับปริมาณคาร์บอนที่เกิดขึ้นมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

- ยุทธศาสตร์เมืองไร้มลพิษ โดยการนำหลักคิดเรื่องการจัดการขยะฐานศูนย์  ILC๓ เป็นการจัดการขยะที่ปลายทาง มีเจ้าหน้าที่ประจำทั้ง ๓ คน โดยแบ่งการทำงานทั้งใน และลงพื้นที่เพื่อจัดเก็บขยะอินทรีย์ที่ทางเทศบาลตำบลปริกได้ประสานไว้ทั้งในร้านค้า ร้านอาหาร และครัวเรือน ที่ไม่สถานที่ในการจัดการขยะอินทรีย์ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะลงชุมชนจัดเก็บขยะอินทรีย์โดยใช้รถกระบะสำหรับไว้จัดเก็บขยะอินทรีย์  ทุกๆ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. เฉลี่ยครั้งละประมาณ ๒๐๐ – ๒๕๐ กิโลกรัมต่อวัน เพื่อนำมาทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรม ILC๓ และกิจกรรมของเทศบาลต่อไป

- ยุทธศาสตร์เมืองพิชิตพลังงาน สมัยก่อนปี ๒๕๕๗  ILC๓ ไม่มีไฟฟ้าใช้ ใช้เครื่องปั่นไฟ และพ่วงไฟเข้ามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นเงินจำนวนมาก ทางเทศบาลได้ติดต่อไปยังการไฟฟ้าเพื่อขอขยายเขตแต่ต้องใช้งบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้ามาถึง ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทางคณะผู้บริหารเลยนำนโยบายเรื่องการจัดการพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทน ประกอบกับช่วงนั้นมี บริษัท ปตท.ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยสนับสนุนบุคลากร วิชาการและงบประมาณ เราจึงร่วมกันผลิตโซล่าเซลล์ จำนวน ๑๕  กิโลวัตต์ โดยใช้งบประมาณเพียง ๕๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น และปัจจุบันขยายเป็น ๑๙ กิโลวัตต์ ทำให้กิจกรรมต่างๆ ในILC๓ สามารถดำเนินการได้ด้วยการใช้พลังงานโซล่าเซลล์ เช่น การนำพลาสติกออกมาจากบ่อขยะใหญ่ ซึ่งถือว่ายังเป็นปัญหาที่สำคัญของเทศบาลตำบลปริก โดยการใช้เครื่องสะบัดขยะ และเครื่องคัดแยกขยะ  เสาไฟฟ้าแสงสว่างพลังงานโซล่าเซลล์จำนวน ๑๕ ต้น เครื่องบดปุ๋ย และเครื่องสูบน้ำเพื่อใช้ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ต่างๆ เป็นต้น

- ยุทธศาสตร์เมืองที่มีการบริโภคอย่างยั่งยืน คือ ผู้บริหารต้องการให้พื้นที่ตรงนั้นมีปะโยชน์มากที่สุด เราก็เลยปลูกผักสวนครัวและผักพื้นบ้าน เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้เห็นว่าพื้นที่เล็กน้อย หรือที่ดูว่าไร้ค่า ก็สามารถสร้างให้เกิดประโยชน์ได้อย่างสูงที่สุด  ซึ่งเราก็เอาปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพมาใส่ต้นไม้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดใช้สารเคมี เป็นเกษตรอินทรีย์

- ทุกๆ ปี ทางกองสาธารณสุขฯ จะส่งน้ำ ผลผลิตต่างๆ เช่น พืชผัก ต่างๆ ไปยังศูนย์ปฏิบัติการที่ มอ.หาดใหญ่ เพื่อตรวจหาค่าสารพิษที่อาจเจือปนได้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีสารพิษเจือปนทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

- และสิ่งที่ทาง ILC๓ ท้าให้ทุกท่านเข้าไปพิสูจน์ คือ “บ่อขยะไร้กลิ่น ไร้มลพิษ และการร้องเรียน” เราทำอย่างไร ทางคณะผู้บริหารให้เรานำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำแล้วใช้รถดับเพลิงรถบ่อขยะ อย่างน้อยเดือนละ ๒ ครั้ง รับรองไม่มีกลิ่น ไม่มีแมลงวัน คะ หากใครไม่เชื่อก็เชิญท้าพิสูจน์ได้นะคะ

- นอกจากนี้ ทางเทศบาลยังใช้ พื้นที่ ILC๓ เป็นที่ประชุมนอกสถานที่ ซึ่งบรรยากาศดีมากคะ

- ปัจจุบัน มีคณะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนเฉลี่ยเดือน ๒ - ๓ คณะ อย่างไรก็ตามท่านสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้นะคะ ที่ ศูนย์เรียนรู้บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลปริก เพราะ สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นนะคะ

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ