จากสถานการณ์ภาระหนี้สิน และการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบด้านสุขภาพเนื่องจากการใช้สารเคมีในการเกษตรทำให้ผู้นำชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อให้เกษตรกรมีการปลูกผักตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ครัวเรือนของคนในชุมชนเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นายฟาริด เบ็ญมุสา ซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลปริก ได้มีแนวคิดในการจัดทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลูกพืชปลอดสารพิษ ในบริเวณบ้านของตนเอง เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนและจำหน่ายในชุมชน ต่อมาเทศบาลตำบลปริกได้ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้ในการปลูกพืชปลอดสารพิษ เช่น การทำน้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ฮอร์โมนพืชจากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ลดการใช้สารเคมี เป็นต้น
ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น
เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคผักปลอดสารพิษ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครอบครัวและดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวง ร.๙ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้คนในชุมชนตระหนักในการทำการเกษตรปลอกภัยในครัวเรือนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ มาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ สามารถใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีได้ มีการขยายสมาชิกในการทำเกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียงในเขตเทศบาลตำบลปริกเพิ่มขึ้น ได้ผู้ที่ทำกิจกรรมในครัวเรือนโดยเน้นการเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗๐ ของครัวเรือนในเขตเทศบาลตำบลปริก มีแหล่งเรียนรู้และทีมวิทยากรที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านการทำเกษตรอินทรีย์
วิธีดำเนินงาน
๑)การพัฒนาพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้พื้นที่บริเวณบ้านที่อยู่อาศัยเป็นศูนย์การเรียนรู้ในการทำเกษตรปอดภัยโยเริ่มต้นดำเนินการภายในครอบครัว ๒) มีการดำเนินการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ วางแผนการจัดทำแปลงผัก เรียนรู้การเตรียมดิน การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การใช้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การกำจัดวัชพืช การใช้สารอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี ๓) ดำเนินการอบรมให้ความรู้ด้านเกษตรปลอดภัยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและผู้ที่สนใจ ๔) นำผลผลิตจากเกษตรปลอดภัยประเภทผักชนิดต่างๆ จำหน่ายให้แก่คนในชุมชน และร้านค้าทั่วไป ๕) ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับทางเทศบาลเพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนของโรงเรียนเทศบาลตำบลปริกให้มีความรู้เรื่องเกษตรปลอดภัยเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ๖) เข้ารับการตรวจรับรองจากเกษตรตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice)
ผลผลิต/ผลลัพธ์
มีการถ่ายทอดความรู้จากการศึกษาดูงานในศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน.๒๕๐...คนต่อปี มีครัวเรือนที่ทำเกษตรปลอดภัยจำนวน..๓๐..ครัวเรือน และมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์..๒..ไร่