๑.ชื่อโครงการนวัตกรรม. เบ้าหลอมพลเมืองบนเส้นทางการจัดการศึกษาปฐมวัยของเทศบาลตำบลปริก
๒.วลีเกี่ยวกับโครงการ. ....”ครูปรับ เด็กเปลี่ยน”
๓.เนื้อหาข้อมูลโครงการนวัตกรรม
๓.๑ ความเป็นมาของโครงการ
ด้วยในอดีตที่ผ่านมาระบบการจัดการศึกษาที่มีอยู่โดยทั่วไปมักจะเป็นการจัดการศึกษาที่มีครูเป็นศูนย์กลางของผู้เรียนและการเรียนรู้ ไม่มีรูปแบบ วิธีการที่แสดงให้เห็นถึงการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการคิดให้กับผู้เรียนตั้งแต่ระดับปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการปิดกั้นทางความคิดของเด็กตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาและเข้าสู่การเรียนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นจึงทำให้เด็กขาดทักษะและกระบวนการทางการคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ ส่งผลต่อพัฒนการทางสติปัญญา และการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ทำให้หลงผิด และมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ อันก่อให้เกิดปัญหาแก่เด็กและเยาวชน ดังที่ปรากฏให้เห็นในเรื่องของการพนัน และยาเสพติด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสังคมส่วนรวม และประการสำคัญ คือ การสูญเปล่าทางการศึกษา ที่ไม่สามารถสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพได้ ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และส่งผลกระทบต่ออัตราการว่างงานของคนในชุมชน ตลอดจนผลเสียทางเศรษฐกิจในระดับครัวเรือนและชุมชนของตำบลปริกตามมา
ในขณะเดียวกันเทศบาลตำบลปริกมีวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นว่าด้วยการพัฒนาคน ดั่งความว่า “เศรษฐกิจพอเพียง ร้อยเรียงวิถีชุมชน คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ประชาสังคมสันติสุข “ หากไม่รีบดำเนินการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนให้เกิดทักษะในการเรียนรู้ผ่านการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นแล้วนั้น ก็อาจส่งผลทำให้เกิดความสูญเสียทางการศึกษาและวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตลอดจนผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้ เทศบาลตำบลปริกจึงเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพลเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพเพื่อรองรับอนาคตโดยผ่านกระบวนการสร้างเบ้าหลอมเพื่อการเปลี่ยนแปลง จึงได้ให้ความสำคัญและจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อพัฒนาครูให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเด็กและเยาวชนของเทศบาลตำบลปริกต่อไป
๓.๒ วิธีการ/กลยุทธ์การดำเนินงาน
การสร้างเบ้าหลอมเพื่อการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเทศบาลตำบลปริกนั้น จะต้องเริ่มจากตัวละครที่มีบทบาทสำคัญตามลำดับ คือ ครูผู้ดูแลเด็ก และครูผู้สอน เด็ก และผู้ปกครอง ตลอดจนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กับการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกระดับ โดยผ่านกลยุทธสามซี (3 C) กล่าวคือ
ตำบลปริก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก ได้มีการสร้างความร่วมมือและเป็นพันธมิตรทางการศึกษากับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ องค์กรปกครองสวนท้องถิ่น โรงเรียนเอกชน และภาคีภาคส่วนอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการศึกษาปฐมวัยแนวใหม่มาปรับใช้ให้เกิดรูปธรรม
เรียนรู้ในการที่จะแนะนำ แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ด้วยการเป็นโค้ชให้แก่กันและกัน (Peer Coaching) เพื่อเปลี่ยนครูจากเป็นผู้สอน ให้สอนน้อยลง แต่จะเป็นการฝึกฝนให้ครูเป็นผู้นำการจัดการกระบวนการในชั้นเรียน(Facilitator)แทน
ภายใต้กรอบแนวคิดการเรียนแบบวิทยาศาสตร์ และการเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเริมให้เด็กมีการทำกิจกรรมกลุ่มรวมกันตั้งแต่เยาว์วัย โดยใช้ครูและโรงเรียนเป็นเบ้าหลอมทางปัญญาแก่เด็ก
๓.๓ การดำเนินการและนำไปสู่การปฏิบัติ
วิธีการนำสู่การปฏิบัติ เทศบาลตำบลปริกได้ค้นหาวิธีการในการปรับปรุงและปฏิรูปการจัดการศึกษาของเทศบาลตำบลปริกเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพัฒนาคนได้ตามวิสัยทัศน์ของเทศบาล จึงได้ประสานงานกับภาคีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือ และความช่วยเหลือทางวิชาการ โดยประสานงานกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จนกระทั่งได้มีการตกลงร่วมทำ MOU เพื่อการจัดการศึกษาปฐมวัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับเทศบาลตำบลปริก และ อปท.ต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยใน ศพด.และโรงเรียนของเทศบาลตำบลปริก ทำการอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เรียนรู้เรื่องเทคนิค วิธีการ และกรอบคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัยแนวใหม่ที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลางการพัฒนา(Child Center) และสร้างบรรยากาศการเรียนรู้แบบตื่นรู้ทั้งครูทั้งเด็ก (Active Learning)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ครูแกนนำ ( ศพด. และ ร.ร. เทศบาลตำบลปริก) สำนักงานเทศบาลตำบลปริก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร.ร.เอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และเป็นเครือข่ายการจัดการศึกษาปฐมวัยกับเทศบาลตำบลปริก และ อปท.ต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา รวมทั้ง สนง.สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เป็นต้น
ทรัพยากรและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เทศบาลตำบลปริกได้จัดรูปแบบการบริหารจัดการ โดยใช้สูตร สามพลัง คือ Coaching Tandemn และ ภูมิบุตรา. สร้างทีมเวิร์คในการทำงาน ที่มีทั้งฝ่ายบริหาร หัวหน้าส่วนราชการในสำนักงานเทศบาลตำบลปริก เช่น กองการศึกษา และกองต่าง ๆ คณะครู จัดรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วม มีการประชุม วางแผนพัฒนา และติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะตามแผนงาน เทศบาลสนับสนุนกำลังคน งบประมาณ และทรัพยากรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิตที่ประสบผลสำเร็จ คือ ครู เด็กกล้าคิดและแสดงออก. รู้จักการซักถามและแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น เด็กมีอิสระทางความคิดมากขึ้น จากการสังเกตการต่อยอดการเรียนรู้ที่แสดงออกจากการเล่นและการทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเห็นพัฒนการของการรู้จักคิด แก้ปัญหาด้วยตนเองได้ เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิดและวิธีคิดให้กับเด็ก ครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กับเด็ก
เมื่อครูปรับ เด็กเปลี่ยน เทศบาลตำบลปริกจึงเป็นเบ้าหลอมทางกายภาพ และทางสังคม แก่เด็ก
ปัญหาอุปสรรค เนื่องจากกระบวนการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และ การพัฒนาโดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลาง( Child Center)นั้นเป็นเรื่องใหม่และต้องปรับเปลี่ยนความเคยชินกับวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ ของ ศพด. และ ร.ร.เทศบาลตำบลปริก ดังนั้นในช่วงระยะเริ่มต้นของโครงการ มักจะมีแรงเสียดทานสูง จะไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งครูและผู้ปกครอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เข้าใจของผู้ปกครองที่คิดว่าเมื่อส่งเด็กมาที่ ศพด.และ ร.ร.เทศบาล (ระดับอนุบาล)แล้ว จะต้องให้บุตรหลานอ่านออกเขียนได้ไว้ก่อน โดยไม่คุ้นชินกับการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่
วิธีการเอาชนะปัญหาและอุปสรรค. ๑) อบรมครูอย่างต่อเนื่อง ๒)จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแหล่งการศึกษาและสถานที่ที่มีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะเดียวกัน ๓) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพือให้เข้าใจตรงกันในยุทธศาสตร์และเป้าหมายการจัดการศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบบ้านนักวิทยาศาสตร์ Child Center, Active Learning และการยกระดับเป็น PLC. ๔)สื่อสารผ่านทางช่องทางสื่อต่าง ๆ และ ๕) การสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความคุ้นชินกับกระบวนการทั้งระบบ ๖)ส่งเสริมและพัฒนาครูในระดับประถมศึกษาเรื่องการพัฒนาทางจิตตปัญญาเพื่อรองรับในการส่งผ่านเด็กประถมวัยไปสู่ชั้นประถมศึกษา
๓.๔ ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ ความโดดเด่น และความยั่งยืน
๑) ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
มิติทางเศรษฐกิจ -Economy ผู้ปกครองมีเวลาที่จะไปประกอบอาชีพแทนการดูแลบุตรหลานในระดับปฐมวัย เป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็กและการจัดการศึกษาแก่ผู้ปกครอง
มิติทางสังคม `Equity เป็นการสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาแก่เด็กและครอบครัว โดยที่ผู้ปกครองสามารถส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนเทศบาลตำบลปริกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เป็นการสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของคนในเทศบาลตำบลปริกได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึงสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลและเป้าหมายาการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อที่ ๔ ที่ให้มีการศึกษาอย่างมีคุณภาพและทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมายโดยไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
มิติทางสิ่งแวดล้อม`Environment เทศบาลปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อการอยู่ร่วมกันของเด็กปฐมวัยใน ศพด.และโรงเรียน มีสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ดี มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ พัฒนาสติปัญญา ให้รู้จักคิด ทำงานเป็นกลุ่ม การอยู่รวมกันทางสังคมได้อย่างลงตัว
มิติทางการมีส่วนร่วมและการสร้างพลังชุมชน`Empowerment การที่ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งสถาบันทางวิชาการ อปท. ร.ร.เอกชน และพี่น้องประชาชนในชุมชน ตลอดจนผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยร่วมกันกับเทศบาล เป็นการสร้างบรรยากาศความร่วมมือและหุ้นส่วนทางการศึกษาเกิดขึ้นและส่งผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนต่อไป
๒) ความโดดเด่น
- เป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่กำลังเป็นที่ยอมรับของการเปลี่ยนแปลง และ การปฏิรูปในวงการศึกษาทั้งระดับชาติ และสากล ที่ใช้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) และ การพัฒนาทักษะเด็กให้เกิดความพร้อมทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วม ที่มีครูเป็นโค้ช หรือพี่เลี้ยง (Facilitator)
- เป็นโครงการที่สวนกระแสต่อรูปแบบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยแบบเดิม ๆ ที่มีอยู่ ที่ยังคงยึดหลักให้ครูเป็นศูนย์กลางการเรียน การสอน และให้มีกิจกรรมทั่ว ๆ ไปที่ได้ถูกออกแบบในการดูแลเด็กปฐมวัยเพียงแค่เป็นสถานที่รับเลี้ยงเด็ก เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้น เท่ากับเป็นโรงการที่ไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีทำงานของครู และความเข้าใจของผู้ปกครอง ในเบื้องต้น ไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องมากนัก ซึ่งในการนี้ เทศบาลตำบลปริกได้ใช้เวลา และการพัฒนาโมเดล ในการสร้างความเข้าใจและทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ จนกระทั่งเกิดการยอมรับในการเปลี่ยนแปลงจากครู และผู้ปกครองในที่สุด
และ ๓) ความยั่งยืน
-ความยั่งยืนทางด้านพฤติกรรม วัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม ตามที่มีงานวิจัยรองรับว่าช่วงวัยของเด็ก 0-5 ปี ตามพัฒนการของเด็กปฐมวัยนั้นจะเป็นช่วงที่เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำสูงสุด ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลปริก สามารถสร้างกรอบแนวคิด Mindset ให้แก่เด็กในช่วงปฐมวัยได้ จึงเป็นโอกาสแห่งความยั่งยืนที่จะเกิดแก่เด็กที่จะเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพในอนาคตด้วยการผ่านการวางรากฐานที่ดี มีความใฝ่รู้ สังเกต รู้จักคิด มีเหตุผล รู้จักการแก้ไขปัญหา มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นพฤติกรรมที่ติดตัวของเด็กตลอดไป
-ความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ เด็กที่เข้ามาเรียนรู้ในระบบการจัดการศึกษาของเทศบาลซึ่งเป็นการเรียนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายนั้น สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลานในระดับอนุบาลลงได้ โดยไม่ต้องเข้าโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น และเมื่อเด็กได้รับการพัฒนาทางติปัญญา ความคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล ทำให้มีโอกาสในการเรียนและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นโดยไม่ออกกลางคัน เป็นประหยัดงบประมาณการลงทุนทางการศึกษาของท้องถิ่นและประเทศลงได้ ตลอดจนการลดการสูญเสียทางการศึกษาลงได้ .
๓.๕ แนวทางในการเผยแพร่นวัตกรรมของโครงการ
นอกจากการพัฒนาครูผู้สอนให้เรียนรู้เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนแบบวิทยาศาสตร์ วิธีการติแนะนำภายในกลุ่มครูและผู้เกี่ยวข้อง (Peer Coaching) และการใช้เด็กเป็นศูนย์กลางการพัฒนา (Child Center), จนกระทั่งสามารถเข้าสู่การจัดการศึกษาแบบตื่นรู้ (Active Learning) ที่ทั้งครูและเด็กมีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ ตลอดจนก่อให้เกิดกลุ่มก้อนและชุมชนทางการเรียนรู้ (Professional Learning Community : LPC).ในระบบของการจัดการศึกษาปฐมวัยของเทศบาลตำบลปริก ในรอบปีที่ผ่านมาได้เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนต่าง ๆ ทั้ง สพฐ.และ เอกชน และได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันกัน ผ่านวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
๑.) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มพื้นที่ อ.สะเดา และพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งที่เป็นมาศึกษาดูงานของกลุ่มต่าง ๆ และการไปเยี่ยมเยือนยังโรงเรียนอื่น และวิธีการเผยแพร่ข้อมูลโดยผ่านสื่อแต่ละประเภท เช่น เว็ปไซด์ เฟสบุ๊ค ไลน์ และ social medias ประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
๒.) การนำเสนอผลงานทางวิชาการเวทีต่าง ๆ ของครูผู้สอน และผู้เกี่ยวข้องการจัดการศึกษาปฐมวัยของเทศบาลตำบลปริก ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับปะเทศ
๓.) การสร้างเครือข่ายการศึกษาปฐมวัยจังหวัดสงขลา และพื้นที่อื่น ๆ ทั้งในระดับภาคและระดับประเทศ
๔.) การขยายผลด้วยการส่งผ่านกระบวนการ เทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้แบบบ้านนักวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ไปสู่ชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ของโรงเรียนเทศบาลตำบลปริก และ อื่น ๆ ด้วยการอบรม พัฒนาศักยภาพครูของเทศบาล และกลุ่มภาคีผู้สนใจที่เป็นแนวร่วมทางการศึกษา เป็นต้น
************ชมวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=ClRcUsF4PW8************
***** ชมวีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=eMV4bVv_7js ******