บริการประชาชน
น้องบัง
22.16
น้องบัง
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องช่วยฮ่ะ ถามน้องบังมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ฮะ
22.16
ขนาดตัวอักษร
ภาษา
นวัตกรรมเด่น
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการขยะฐานศูนย์

โดย สุริยา  ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก

กลุ่มองค์กรชุมชน เครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อม จังหวัดต่าง ๆ ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร พังงา  ภูเก็ต  ตรัง  สงขลา  ปัตตานี และนราธิวาส ภายใต้การสนับสนุนของโครงการการจัดการสภาพแวดล้อมโดยองค์กรชุมชน (COPE) :ซึ่งมีคุณพิชยา แก้วขาว(ดุก) ผู้จัดการโครงการ(ภาคใต้)เป็นหัวขบวน ได้เลือกเอาพื้นที่เทศบาลตำบลปริกเป็นกรณีศึกษา ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากมุมมองและวิธีคิด ตลอดจนการปฎิบัติที่ผ่านมาทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่จะนำไปสู่การจัดการขยะฐานศูนย์ในอนาคต

                  รูปแบบและวิธีการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน  กล่าวคือ ขั้นตอนที่ 1 โดย เป็นเรื่องของการเกริ่นนำ โดย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม  2550 เวลา 18.30 - 21:00 น.  นายสุริยา  ยีขุน  นายกเทศมนตรีตำบลปริก และคุณพิชยา  แก้วขาว (ดุก) ผู้จัดการโครงการ COPE ภาคใต้ ได้กล่าวต้อนรับและแนะนำสภาพทั่วไปของพื้นที่ตำบลปริก ให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการได้รับทราบ  พร้อมกับนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของเทศบาลที่ได้ดำเนินการ เกี่ยวกับโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนของเทศบาลตำบลปริก  และการเตรียมการในเบื้องต้นสำหรับการทำ workshop การจัดการขยะฐานศูนย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ฐานการเรียนรู้    ได้แก่  ฐานที่ 1 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การจัดการขยะฐานศูนย์    ฐานที่ 2 การจัดการน้ำเสียชุมชนร้านใน    และฐานที่ 3  การจัดการขยะ แปลสภาพเป็นปุ๋ย โรงแยกขยะและผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ เทศบาลตำบลปริก  ก่อนจบภาค 1 ได้มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่มตามฐานการเรียนรู้ที่ได้จัดไว้

                    ขั้นตอนที่ 2  ในวันที่ 20 ตุลาคม  2550  ตัวแทนกลุ่มองค์กรชุมชนเครือข่ายสิ่งแวดล้อม มาถึงเทศบาลตำบลปริก แวะคุยกันเพื่อรอทีมงานกันที่เทศบาลพักหนึ่ง ในขณะที่รอทีมงานก็จะมีการแนะนำตัวทำความรู้จักกันเพื่อเป็นการอุ่นเครื่อง ไปพลาง ๆ จนกระทั่งทะยอยมากันค่อนค้างครบทีมแล้วจึงลงพื้นที่ตามกำหนดการเดิมที่ได้วางไว้ ทั้ง 3 ฐาน ในเบื้องต้นก็จะแยกกันออกไป 2 ฐาน (4 จุด) คือฐานที่ 1 ชุมชนตลาดใต้(3 จุด )ประกอบด้วย จุดที่ 1 บ้านของนายซาการียา  หมัดเลียด ประธานชุมชนตลาดใต้  จุดที่ 2 ธนาคารขยะ ที่บ้านครูอ๊ะ ( ครูรอปิอ๊ะ  โต๊ะหีม )  จุดที่ 3 ที่บ้านปลายนา บ้านของนางหนับ และนางหร้อ หมัดระหมาน  เพื่อศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแยกขยะ(เหลือศูนย์)  การทำน้ำหมัก  และฐานที่ 2  ชุมชนร้านใน (มีเพียงจุดเดียวเป็นจุดที่ 4 ) เพื่อศึกษาดูงานเรื่องการทำถังดักไขมันในครัวเรือน การดูแลคลองปริก และการทำขนมไทยพื้นบ้าน  แต่ละกลุ่มก็จะหมุนเวียนกันไป  และในตอนบ่ายแก่ ๆ ก็จะรวมพลกันทั้งหมดแล้วจึงออกเดินทางไปยังฐานที่ 3  ที่หลุมฝังกลบขยะของเทศบาลตำบลปริก เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการขยะ โดยแปลสภาพขยะมาทำเป็นปุ๋ย ณ โรงแยกขยะและผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ เทศบาลตำบลปริก ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับหลุมฝังกลบขยะ(ที่ยืนยันได้ว่าไม่มีกลิ่นน่ารำคาญเหมือนกับหลุมฝังกลบขยะทั่วไป )    จากนั้นประมาณ 4 โมงเย็นก็มาจบลงที่ อาคารเอนกประสงค์ หรือ ตลาดกลางเทศบาลตำบลปริก โดยแต่ละกลุ่ม แต่ละฐาน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการจัดการขยะ ที่ยกเอากรณีตัวอย่าง การแยกขยะ การทำน้ำหมัก การทำปุ๋ย และธนาคารขยะ  ฯลฯ ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการที่เหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง ตามกรณี นอกจากนั้น ตัวแทนชุมชนต่าง ๆ  ของเทศบาลตำบลปริกได้มาร่วมการออกซุ้มกิจกรรมของกลุ่ม อาทิ กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มดอกไม้จันท์ กลุ่มเครื่องแกง  กลุ่มจักรปัก  กลุ่มขนมไทยและเบเกอรี่  กลุ่มพืชสมุนไพร เป็นต้นในขณะที่รับประทานอาหารมื้อเย็นร่วมกัน ก็มี กลุ่มต้นกล้า จากโรงเรียนพะตงคีรีวัฒน์ ที่มีครูเบ็ญจมาศ  นาคหลง เป็นหัวเรือใหญ่นำทีมมาร่วมร้องลำนำเพลงเรือ และ เพลงเกี่ยวกับคลองอู่ตะเภา  เด็กและเยาวชนเครือข่ายเยาวชนอาสาประชาเป็นสุข ก็มาร่วมกิจกรรมโดยตลอดเช่นกัน ก่อนจะแยกย้ายกันกลับเข้าที่พัก ที่หาดใหญ่นั้นก็จบลงด้วยการแสดงชุดลิเกลาฮู ของกลุ่มลิเกลาฮูท่าโพธิ์ - ปริก เป็นรายการสุดท้าย

                    ขั้นตอนที่ 3  ในวันที่ 21 ตุลาคม  2550  เวลาประมาณ 09:00 - 13:00 น. คุณพิชยา  แก้วขาว (ดุก) ผู้จัดการโครงการ COPE ภาคใต้ และอาจารย์สมบัติ  เหสกุล ได้จัดเวทีสรุปกันต่อที่โรงแรมเอเชี่ยน หาดใหญ่ เป็นช่วงสุดท้าย ก่อนที่มวลสมาชิกทั้งหลายจะแยกย้ายกันกลับภูมิลำเนาของแต่ละกลุ่ม  บรรยากาศของเวทีในการสรุปเช้าที่ 21ตุลาคม นั้น ส่วนใหญ่ก็จะสะท้อนแนวคิดและหลักการบริหาร จัดการ  ตลอดจนเทคนิคในการดำเนินงานด้านการจัดการขยะที่สร้างกลไกชุดสำคัญ คือการจัดการขยะภาคประชาชน  ที่มีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันของชุมชนกับอปท.

นวัตกรรมเด่นอื่นๆ