บริการประชาชน
น้องบัง
15.40
น้องบัง
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องช่วยฮ่ะ ถามน้องบังมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ฮะ
15.40
ขนาดตัวอักษร
ภาษา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
“ปริก” สำหรับคำว่าตำบลปริก ได้มีคนเฒ่าคนแก่ เล่าให้ฟังว่า เป็นการเรียกขานกันตามชื่อของ “ต้นปริก” ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากต้นปริกทั่วไป ที่เป็นพืชล้มลุกหรือพืชที่จัดอยู่ในประเภทใบเฟิร์น ต้นปริก ที่ว่านี้เป็นพืชยืนต้น ไม้เนื้ออ่อนค่อนข้างแข็งนิด ๆ เป็นสายพันธุ์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างปอกับพลา มีลำต้นสูงประมาณ 10 – 15 เมตร ในอดีตที่ผ่านมาจะมีต้นปริกดังกล่าวอยู่เรียงรายตามสายคลองและเป็นหย่อม ๆ ในพื้นที่ราบลุ่มของตำบล จนกระทั่งชาวบ้านในอดีตได้ตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านปริก” ในตำบลปริก ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนตำบลปริก และเทศบาลตำบลปริก ซึ่งในส่วนของ เทศบาลตำบลปริก ได้รับการตั้งขึ้นตาม “พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542” ซึ่งได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ก 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2542 โดยยกฐานะสุขาภิบาลปริก เป็นเทศบาลตำบลปริก
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลปริก ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดสงขลา ห่างจากที่ว่าการอำเภอสะเดา ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสงขลา ระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร พื้นที่ทั้งหมด เป็นพื้นที่เดิมของสุขาภิบาลปริก ประมาณ 4.8 ตารางกิโลเมตร
ปริก ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่หลายคนไม่เคยรับรู้ถึงรากเหง้าอัน แท้จริง แต่ก็มีหลายคนที่ทราบถึงความเป็นมาของคำว่าปริกเป็นอย่างดี และ นำมาเล่าสู่เฉพาะในกลุ่มเล็ก ๆ ว่า แต่เดิม ปริก มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งซึ่ง ชอบขึ้นอยู่ตามสายห้วย ลำธาร หรือริมคลองปริก เป็นพืชที่ชอบอยู่ใกล้น้ำ ลักษณะของต้นปริกเป็นไม้เนื้อปานกลาง ไม่อ่อน ไม่แข็ง มีใบคล้ายใบโพธิ์ หรือใบปอ
ปริก เป็นชื่อเรียกขานของชุมชนหลาย ๆ พื้นที่ในภาคใต้ จะเห็นว่าตั้ง แต่จังหวัดชุมพรถึงใต้สุดแดนสยามมีชื่อหมู่บ้านที่มีคำว่าปริกอยู่ไม่น้อย เช่น บ้านห้วยปริก บ้านลำปริก แสดงว่าที่ตั้งของบ้านเหล่านั้นมีต้นไม้ชนิดนี้อยู่ รวมทั้งในพื้นที่ของตำบลปริกก็เช่นเดียวกัน
จากคำของคนเฒ่าคนแก่ ที่ได้เล่าขานสืบต่อกันมาว่า คลองปริก ซึ่ง อยู่ในพื้นที่ตำบลปริกนี้ ที่เรียกขานกันว่าคลองปริก เพราะมีต้นปริกขึ้นอยู่ตาม สายคลองเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ต้นปริกยังขึ้นอยู่ในบริเวณทุ่งที่น้ำท่วมถึง ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ว่า หมู่บ้านปริก และตำบลปริก แต่ต่อมา ต้นปริกได้หายสาบสูญไปจากพื้นที่ตำบลปริกเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 40 – 50 ปี มาแล้ว
" เศรษฐกิจพอเพียง ร้อยเรียงวิถีชุมชน
คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ประชาสังคมสันติสุข "